รายชื่อพายุ ของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546

ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ต่างทำหน้าที่กำหนดชื่อของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งเป็นผลให้พายุหมุนเขตร้อนอาจมีสองชื่อ[8] RSMC โตเกียวโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น — ศูนย์ไต้ฝุ่นจะกำหนดชื่อสากลให้กับพายุหมุนเขตร้อนในนามของคณะกรรมการไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งพวกเขาจะประมาณความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาทีของพายุหมุนเขตร้อน หากมีความเร็วลมถึง 65 km/h (40 mph) พายุหมุนเขตร้อนดังกล่าวจะได้รับชื่อ[9] ส่วน PAGASA จะกำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเคลื่อนตัวเข้าหรือก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนภายในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ มีขอบเขตอยู่ระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 135°ดะวันออก ถึง 115°ตะวันออก และระหว่างเส้นขนานที่ 5°เหนือ ถึง 25°เหนือ แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนลูกนั้นจะได้รับชื่อสากลแล้วก็ตาม[8] โดยชื่อของพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญจะถูกถอนโดยทั้ง PAGASA และ คณะกรรมการไต้ฝุ่น[9] ในระหว่างฤดูกาล หากรายชื่อของภูมิภาคฟิลิปปินส์ที่เตรียมไว้ถูกใช้จนหมด PAGASA จะใช้ชื่อจากรายชื่อเพิ่มเติม ซึ่งถูกกำหนดขึ้นไว้ในแต่ละฤดูกาลมาใช้กับพายุหมุนเขตร้อนแทนชื่อที่หมดไป

ชื่อสากล

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะเป็นหน่วยงานที่กำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน เมื่อระบบได้รับการประมาณว่า มีความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาที ที่ 65 km/h (40 mph)[10] โดย JMA จะคัดเลือกชื่อจากรายการ 140 ชื่อ ซึ่งได้รับการปรับปรุงโดย 14 ประเทศสมาชิกและดินแดนของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)/WMO คณะกรรมการไต้ฝุ่น[11] โดยรายชื่อด้านล่างจะเป็นรายชื่อ พร้อมเลขรหัสพายุ ชื่อที่ใช้เป็นชื่อแรกของฤดูกาล 2546 คือ ยันยัน จากชุดที่ 3 และชื่อที่ใช้เป็นชื่อสุดท้ายคือ ลูปิต จากชุดที่ 4 รวมมีชื่อจากชุดรายชื่อถูกใช้ 21 ชื่อ

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนสากลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกในฤดูกาล 2546
ชุดรหัสพายุชื่อพายุชุดรหัสพายุชื่อพายุชุดรหัสพายุชื่อพายุชุดรหัสพายุชื่อพายุ
ชุดที่ 30301ยันยัน
(Yanyan)
ชุดที่ 30307อิมบูโด
(Imbudo)
ชุดที่ 40313ตู้เจวียน
(Dujuan)
ชุดที่ 40319เมอโลร์
(Melor)
0302คูจิระ
(Kujira)
0308โคนี
(Koni)
0314แมมี
(Maemi)
0320เนพาร์ตัก
(Nepartak)
0303จันหอม
(Chan-hom)
0309มรกต
(Morakot)
0315ฉอยหวั่น
(Choi-wan)
0321ลูปิต
(Lupit)
0304หลิ่นฟา
(Linfa)
0310เอตาว
(Etau)
0316คปปุ
(Koppu)
0305นังกา
(Nangka)
0311หว่ามก๋อ
(Vamco)
0317เกดสะหนา
(Ketsana)
0306เซาเดโลร์
(Soudelor)
ชุดที่ 40312กรอวาญ
(Krovanh)
0318ป้าหม่า
(Parma)

ฟิลิปปินส์

สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) จะใช้ชื่อของตัวเองหากมีพายุใดก่อตัวหรือเคลื่อนผ่านพื้นที่รับผิดชอบของตน[12] ชุดรายชื่อนี้มีกำหนดจะถูกนำมาใช้อีกครั้งในฤดูกาล ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550)[12] เนื่องจากเป็นชุดรายชื่อที่เริ่มใหม่ จึงไม่มีชื่อใดในรายการนี้ที่ถูกถอนเลย ส่วนชื่อที่ไม่ถูกใช้จะทำเป็น อักษรสีเทา

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนท้องถิ่นฟิลิปปินส์ในฤดูกาล 2546
อามัง (Amang) (0302)ฟัลโกน (Falcon) (0205)กาบายัน (Kabayan) (0310)โปกี (Pogi) (0314)อูร์ซูลา (Ursula)
บาตีโบต (Batibot)Goring (โกริง)ลาไก (Lakay)กีเยล (Quiel)บีริง (Viring) (0319)
เชเดง (Chedeng) (0304)ฮารูโรต (Harurot) (0307)มานัง (Manang) (0311)โรสกัส (Roskas) (0315)เวง (Weng) (0320)
โดโดง (Dodong) (0305)อีเนง (Ineng)นีนา (Niña) (0312)ซีกัต (Sikat) (0316)โยโยย (Yoyoy) (0321)
เอไก (Egay) (0306)ฮัวนิง (Juaning) (0309)โอนโยก (Onyok) (0313)ตีโซย (Tisoy) (0317)ซิกซัก (Zigzag)
รายชื่อเพิ่มเติม
อาเบ (Abe) (ไม่ถูกใช้)ชาริง (Charing) (ไม่ถูกใช้)เอสโตย (Estoy) (ไม่ถูกใช้)เฮนิง (Gening) (ไม่ถูกใช้)อีโรก (Irog) (ไม่ถูกใช้)
เบร์โต (Berto) (ไม่ถูกใช้)ดังกิต (Danggit) (ไม่ถูกใช้)ฟัวโก (Fuago) (ไม่ถูกใช้)ฮันติก (Hantik) (ไม่ถูกใช้)ไฮเม (Jaime) (ไม่ถูกใช้)

การถอนชื่อ

ชื่อ อิมบูโด และ แมมี ถูกถอนโดยคณะกรรมการไต้ฝุ่น โดยคณะกรรมการได้เลือกชื่อ โมลาเบ และ มูจีแก ขึ้นมาแทนตามลำดับ ขณะที่ชื่อ ยันยัน นั้นทางการฮ่องกงได้ร้องขอให้ถอนชื่อดังกล่าวออก และใช้ชื่อ ดอลฟิน แทน นอกจากนี้ชื่อ โคนี ในอักษรละตินยังถูกเปลี่ยนจาก Koni เป็น Goni ด้วย เนื่องจากพบว่าการใช้ตัว K นั้นเป็นการสะกดผิด

ส่วน PAGASA ได้ประกาศถอนชื่อ ฮารูโรต (Harurot) ออกเนื่องจากสร้างความเสียหายอย่างมาก และเลือกชื่อ ฮันนา (Hanna) ขึ้นมาแทนที่

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2547 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546 http://tcdata.typhoon.gov.cn/en/ http://tcrr.typhoon.gov.cn/EN/article/downloadArti... http://australiasevereweather.com/cyclones/2003/su... http://www.australiasevereweather.com/cyclones/200... http://www.australiasevereweather.com/cyclones/200... http://www.prh.noaa.gov/guam/cyclone.php http://www.hko.gov.hk/informtc/tcMain.htm http://meteo.bmkg.go.id/siklon http://www.wmo.int/pages/prog/www/tcp/documents/TC... http://agora.ex.nii.ac.jp/digital-typhoon/